วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การแสดงผมทางหน้าจอ

การแสดงผลทางหน้าจอ

แสดงผลออกทางหน้าจอ
          การทำงานพื้นฐานที่สึดหรือเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของทุกโปรแกรมคือ  การแสดงผลข้อมูลออกทางจอภาพ  โดยในภาษา C  นั้น  การแสดงผลข้อมูลออกทางจอสามารถทำได้ดังนี้
คำสั่ง printf
          คำสั่ง printf  ถือได้ว่าเป็นคำสั่งพื้นฐานที่สุดในการแสดงผลข้อมูลทุกชนิดออกทางหน้าจอไม่ว่าจะเป็นจำนวนเต็ม int ทศนิยม float ข้อความ string  หรืออักขระ  นอกจากนี้คำสั่งยังมีความยืดหยุ่นสูง  โดยเราสามารถกำหนดหรือจัดรูปแบบการแสดงผลให้มีระเบียบหรือเหมาะสมตามความต้องการได้อีกด้วย 
รูปแบบคำสั่ง prinft
printf ("format",variable);

format
     ข้อมูลที่ต้องการแสดงผลออกทางหน้าจอ  โดยข้อมูลนี้ต้องเขียนไว้ในเครื่องหมาย "  " ข้อมูลที่สามารถแสดงผลได้มีอยู่ 2 ประเภท คือ  ข้อความธรรมดา  และค่าที่เก็บไว้ในตัวแปร  ซึ่งถ้าเป็นค่าที่เก็บไว้ในตัวแปรต้องใส่รหัสควบคุมรูปแบบให้ตรงกับชนิดของข้อมูลที่เก็บไว้ในตัวแปรนั้นด้วย
variable
     ตัวแปรหรือนิพจน์ที่ต้องการนำค่าไปแสดงผลให้ตรงกับรหัสควบคุมรูปแบบที่กำหนดไว้


รหัสควบคุมรูปแบบการแสดงผลค่าของตัวแปรออกทางหน้าจอ  แสดงได้ดังนี้

รหัสควบคุมรูปแบบ
การนำไปใช้งาน
%d
แสดงผลค่าของตัวแปรชนิดจำนวนเต็ม
%u
แสดงผลค่าของตัวแปรชนิดจำนวนเต็มบวก
%f
แสดงผลค่าของตัวแปรชนิดจำนวนทศนิยม
%c
แสดงผลอักขระ 1 ตัว
%s
แสดงผลข้อความ หรืออักขระมากกว่า 1 ตัว


ตัวอย่างการใช้คำสั่ง printf  แสดงผลข้อความธรรมดาออกทางหน้าจอ ดังนี้

printf("Hello Program C");แสดงข้อความ Hello Program C ออกทางขอภาพ
printf("Lampang kunlayanee school");แสดงข้อความ Lampang kunlayanee school ออกทางจอภาพ
printf("Lampang Thailand");แสดงข้อความ Lampang Thailand  ออกทางจอภาพ


#include <stdio.h>
#include <conio.h>
void main()
{
   clrscr();
   prinft('Lampang Kunlayanee School\n");
   printf("Program C\n");
getch();
}
ผลลัพธ์โปรแกรม
Lampang Kunlayanee School
Program C

          ส่วนตัวอย่างการใช้คำสั่ง  printf  แสดงผลจากค่าของตัวแปรหรือนิพจน์ การคำนวณออกทางหน้าจอ  แสดงได้ดังนี้  โดยกำหนดให้
ตัวแปร  x  เก็บจำนวนเต็ม  45
printf("total value = %d",x);   แสดงข้อความ total value = 45 ออกทางจอภาพ

แสดงผลให้เป็นระเบียบด้วยอักขระควบคุมการแสดงผล
          นอกจากนี้เรายังสามารถจัดรูปแบบการแสดงผลให้ดูเป็นระเบียบมากขึ้น  อย่างเช่นขึ้นบรรทัดใหม่  หลังแสดงข้อความ  หรือเว้นระยะแท็บระหว่างข้อความ  โดยใช้อักขระควบคุมการแสดงผลร่วมกับคำสั่ง printf

อักขระควบคุมการแสดงผล
ความหมาย
\n
ขึ้นบรรทัดใหม่
\t
เว้นช่องว่างเป็นระยะ 1 แท็บ (6 ตัวอักษร)
\r
กำหนดให้เคอร์เซอร์ไปอยู่ต้นบรรทัด
\f
เว้นช่องว่างเป็นระยะ 1 หน้าจอ
\b
ลบอักขระสุดท้ายออก 1 ตัว

          การนำอักขระควบคุมการแสดงผลมาใช้  เราต้องเขียนอักขระควบคุมการแสดงผลไว้ภายในเครื่องหมาย "  "  ดังตัวอย่าง

printf("Hello ... \n");แสดงข้อความ Hello ...  แล้วขึ้นบรรทัดใหม่
printf("Hello...\nLampang\n");แสดงข้อความ Hello ...แล้วขึ้นบรรทัดใหม่พร้อมกับแสดงข้อความLampang จากนั้นขึ้นบรรทัดใหม่อีกครั้ง
printf("Num1 = %d\tNum2 = %f\n",x,z);แสดงข้อความ Num1 = 45  ตามด้วยการเว้นช่องว่าง 1 แท็บแล้วต่อด้วยข้อความ Num2 = 20.153


คำสั่งรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด
          การทำงานของโปรแกรมส่วนใหญ่มักจะเป้นการเชื่อมโยงกับผู้ใช้แบบ  2  ทิศทาง  คือ  ทั้งภาคของการแสดงผลการทำงานออกทางหน้าจอ  และภาคของการรับข้อมูลจากผู้ใช้เข้ามาทางคีย์บอร์ด  เพื่อร่วมในการประมวลผลของโปรแกรม 
คำสั่ง  scanf()
          ในภาษา C  การรับข้อมูลจากคีย์บอร์ดสามารถทำได้โดยการเรียกใช้ฟังก์ชัน  scanf()  ซึ่งเป็นฟังก์ชันมาตรฐานสำหรับรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด  โดยสามารถรับข้อมูลได้ทุกประเภท  ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเต็ม  ทศนิยม  อักขระ หรือข้อความ 
รูปแบบคำสั่ง  scanf()
scanf("format",&variable);

format
     การใช้รหัสควบคุมรูปแบบ  เพื่อกำหนดชนิดของข้อมูลที่จะรับเข้ามาจากคีย์บอร์ด โดยรหัสควบคุมรูปแบบใช้ชุดเดียวกับคำสั่ง printf()
variable
     ตัวแปรที่จะใช้เก็บค่าข้อมูลที่รับเข้ามาจากคีย์บอร์ด  โดยชนิดของตัวแปรจะต้องตรงกับรหัสควบคุมรูปแบบที่กำหนดไว้  นอกจากนี้หน้าชื่อของตัวแปรจะต้องนำหน้าด้วยเครื่องหมาย  &  ยกเว้นตัวแปรสตริง  สำหรับเก็บข้อความเท่านั้นที่ไม่ต้องนำหน้าด้วยเครื่องหมาย &


ตัวอย่างการใช้งานคำสั่ง  scanf()  เพื่อรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด

int speed;สร้างตัวแปรชนิด int สำหรับเก็บค่าตัวเลขจำนวนเต็ม
printf("Enter wind speef : ");แสดงข้อความให้กรอกค่าความเร็วลมเป็นจำนวนเต็ม
scanf("%d",&speed);รับค่าความเร็วลมเข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร speed


char answer;สร้างตัวแปรชนิด  char สำหรับเก็บอักขระ
printf("Enter Figure (Y : N)  : ")แสดงข้อความให้ป้อนอักขระ Y  หรือ N
scanf("%c",&answerรับอักขระเข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร  answer


char name[10];สร้างตัวแปรสตริงสำหรับเก็บข้อความ
printf("Enter your name = ");แสดงข้อความให้ป้อนชื่อ
scanf("%s",nameรับชื่อเข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร name สังเกตจะไม่ใส่เครื่องหมาย & ตัวแปรชนิดข้อความ


#include <stdio.h>
#include <conio.h>
void main()
{
  clrscr();
  int x,y,sum;
  printf("Enter The Length is : ");
  scanf ("%d",&x);
  printf("Enter The Width is : ");
  scanf ("%d",&y);
  sum = x*y;
  printf("The area is :%d",sum);
getch();
}
ผลลัพธ์โปรแกรม
Enter The Length is   : 15
Enter The Width is     : 5
The area is             : 75

การเขียนโปรแกรมคำนวณ
ื     เราสามารถคำนวณหาผลลัพทธ์ของนิพจน์คณิตศาสตร์ด้วยการเขียนโปรแกรมภาษาซี   ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการแสดงลำดับการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ของนิพจน์ต่าง ๆ

#include <stdio.h>
#include <conio.h>
void main()
{
  clrscr();
  int a,b,c,d;
  a=(3+4)*5;
  b=3+4*5;
  c=(2+7)*4%10;
  d=2+7*4%10;
  e=10+2*8/4*3-5;
  printf("(3+4)*5 =%d\n",a);
  printf("3+4*5 =%d\n",b);
  printf("(2+7)*4%10 =%d\n",c);
  printf("(2+7)*4%10 =%d\n",d);
  printf("10+2*8/4*3-5 =%d\n",e);
  getch();
}
ผลลัพธ์โปรแกรม
  (3+4)*5=35
  3+4*5=23
  (2+7)*4%10=6
  2+7*4%10=10
  10+2*8/4*3-5=17

ตัวอย่างโปรแกรมคำนวณหาผลลัพธ์จากการหาร

#include <stdio.h>
#include <conio.h>
void main()
{
clrscr();
int a,b;
float c;
a=20;
b=6;
c=6;
printf("20/6 =%d\n",a/b);      /*หารเอาเฉพาะส่วน*/
printf("20%6 =%d\n",a%b); /*หารเอาเฉพาะเศษ*/
printf("20/6 =%f\n",a/c);       /*หารเอาทั้งเศษและส่วน*/
printf("20/6 =%.2f\n",a/c);   /*แสดงผลทศนิยม  2 ตำแหน่ง*/
  getch();
}
ผลลัพธ์โปรแกรม
20/6=3
20%6=2
20/6=3.333333
20/6=3.33 

คำศัพท์ภาษาซี

1.int main ( ) //<----------------------------------------- จุดเริ่มต้นโปรแกรม

2.{ //<------------------------------------------------------เริ่มต้นขอบเขต การทำงาน

3.int i = 10; //<--------------------------- ประกาศตัวแปร i เป็น Interger และให้ค่า 10

4.printf( "Value in i = %in", i ); //<------------------- พิมพ์ค่า i

5.return 0; //<------------------------------------------ จบโปรแกรมให้ค่าจบโปรแกรม 0

6.} //<---------------------------------------------------- สิ้นสุดขอบเขต การทำงาน

7.int i = 10; //<------ ประกาศตัวแปร i เป็น Interger และให้ค่า 10
8.long lvalue = 20; //<------ ประกาศตัวแปร lvalue เป็น long และให้ค่า 20
9.float fvalue = 30.0; //<------ ประกาศตัวแปร fvalue เป็น float และให้ค่า 30.0
10.printf( "Value in i = %in", i ); //<---------------%i พิมพ์ตัวแปรในรูปแบบ Integer
11.printf( "Value in lvalue = %in", lvalue );
12.printf( "Value in fvalue = %fn", fvalue ); //<-----%f พิมพ์ตัวแปรในรูปแบบ float
13.int i = 10; //<----------------------------ประกาศตัวแปร i เป็น Interger และให้ค่า 10
14.long lvalue = 20; //<------------------ประกาศตัวแปร lvalue เป็น long และให้ค่า 20
15.float fvalue = 30.0; //<------------ประกาศตัวแปร fvalue เป็น float และให้ค่า 30.0
16char ch = 'A'; //<---------------------------------- ตัวแปร character ให้ค่าอักษร 'A'
17.char data[80] = "Sawasdee"; //<------------ ตัวแปร array character ให้ค่า ข้อความ Sawasdee

18.printf( "Value in i = %in", i );
19.printf( "Value in lvalue = %in", lvalue );
20.printf( "Value in fvalue = %fn", fvalue );
21.printf( "Value in ch = %cn", ch ); //<-----------พิมพ์ค่าใน ch รูปแบบ charecter
22.printf( "Value in data = %sn", data ); //<---------พิมพ์ค่าใน data รูปแบบ string
23.int i = 10; //<----------------------------ประกาศตัวแปร i เป็น Interger และให้ค่า 10
24.long lvalue = 20; //<------------------ประกาศตัวแปร lvalue เป็น long และให้ค่า 20
25.float fvalue = 30.0; //<-------------ประกาศตัวแปร fvalue เป็น float และให้ค่า 30.0
26.char ch = 'A'; //<------------------------------------ ตัวแปร character ให้ค่าอักษร 'A'
27.char data[80] = "Sawasdee"; //<------------ ตัวแปร array character ให้ค่า ข้อความ Sawasdee
28.printf( "Value in i = %in", i );
29.printf( "Value in lvalue = %in", lvalue );
30.printf( "Value in fvalue = %fn", fvalue );
31.printf( "Value in ch = %cn", ch ); //<---------- พิมพ์ค่าใน ch รูปแบบ charecter
32.int i = 10; //<----------------------------ประกาศตัวแปร i เป็น Interger และให้ค่า 10
33.long lvalue = 20; //<------------------ประกาศตัวแปร lvalue เป็น long และให้ค่า 20
34.float fvalue = 30.0; //<-------------ประกาศตัวแปร fvalue เป็น float และให้ค่า 30.0
35.char ch = 'A'; //<------------------------------------ตัวแปร character ให้ค่าอักษร 'A'
36.char data[80] = "Sawasdee"; //<------------ ตัวแปร array character ให้ค่าข้อความ Sawasdee
37.printf( "Value in ch = %cn", ch ); //<-----------พิมพ์ค่าใน ch รูปแบบ charecter
38.printf( "Value in data = %sn", data ); //<--------พิมพ์ค่าใน data รูปแบบ string
39.char ch = 'A'; //<--------------------------------------ตัวแปร character ให้ค่าอักษร A
40.char data[80] = "Sawasdee"; //<----ตัวแปร array character ให้ค่าข้อความ Hello
41.และไม่สามารถให้ค่า array charector แบบนี้ได้
42.char data[80];
43.data = "Sawasdee"; //<---- ให้ค่าข้อความ Sawasdeeผิด ต้องใช้ function ในการให้ค่าตัวแปร array 44.cahrectorดังตัวอย่างต่อไปนี้ Value in data = Sawasdee
45.char data[80]"; //<---- ตัวแปร array charactor
46.strcpy( data, "Sawasdee" ); //<------- function copy ข้อความไปที่ตัวแปร array character
47.printf( "Value in data = %sn", data ); //<--- พิมพ์ค่าใน data รูปแบบ string
48.printf( "Value in i = %in", i ); //<---------------------------function พิมพ์ผลลัพท์printf( "Value in ch = %49.cn", ch ); //<-----------พิมพ์ค่าใน ch รูปแบบ charecter
50.printf( "Value in data = %sn", data ); //<---------พิมพ์ค่าใน data รูปแบบ string

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft Excel 2007

    เมื่อโปรแกรม Microsoft Excel 2007 ถูกเปิดขึ้นมาแล้ว จะใช้ชื่อไฟล์ว่า สมุดงาน1 เสมอแต่ถ้าเปิดแฟ้ใหม่ต่อไปอีกก็จะใช้ชื่อเป็น สมุดงาน2 สมุดงาน3 ต่อไปเรื่อย ๆโดยมี ส่วนประกอบของ โปรแกรม Microsoft Excel 2007
2.1 แถบชื่อเรื่อง (Title bar)
เป็นส่วนที่แสดงชื่อของโปรแกรม และชื่อไฟล์สมุดงานที่เราเรียกใช้
2.2 ปุ่ม Office
เป็นปุ่มรายการที่รวบรวมคำสั่งหลัก ใช้แทนที่เมนูแฟ้มในรุ่น ๆ ก่อน ซึ่งมีเมนู 9 รายการ รายการเอกสารล่าสุด ปุ่มตัวเลือกของ Excel และปุ่มออกจาก Excel มีรายละเอียดดังนี้

2.2.1 เมนูสร้าง
เป็นเมนูที่ใช้สร้างสมุดงาน ซึ่งมีหัวข้องานอยู่ 2 หัวข้อ คือ แม่แบบ และ Microsoft Office Online โดยที่หัวข้อแม่แบบ มีเมนูย่อย 4 เมนู ได้แก่ ว่างและล่าสุด แม่แบบที่ติดตั้ง แม่แบบของฉัน และสร้างจากที่มีอยู่ ส่วนแม่แบบจาก Microsoft Office Online มีแม่แบบอยู่ 13 ประเภท ได้แก่ เด่น งบประมาณ ปฏิทิน รายงานค่าใช้จ่าย ใบแจ้งหนี้ รายการ แผน แพลนเนอร์ กำหนดการ ประกาศ สเตชันเนอรี ใบบันทึกเวลา และประเภทเพิ่มเติม ซึ่งแต่ละปะเภทจะมีแม่แบบ ให้เลือกอีกหลายแม่แบบ

2.2.2 เมนูเปิด
เป็นเมนูใช้เปิดสมุดงานเก่าจากที่ที่เก็บงานไว้ ส่วนทางด้านขวามือเป็นรายชื่อ แฟ้มสมุดงานต่าง ๆ ที่เป็นเอกสารล่าสุดที่ได้เปิดงานมาใช้ สามารถเลือกชื่อแฟ้มสมุดงานเปิดได้ ทันทีเลย ถ้าแฟ้มสมุดงานนั้น ๆ ยังอยู่ที่เดิม และไม่ได้ถูกเปลี่ยนชื่อ

2.2.3 เมนูบันทึก
เป็นเมนูใช้ในการจัดเก็บงานต่าง ๆ ที่อยู่ในสมุดงานอย่างรวดเร็ว ถ้าเป็นการ สร้างสมุดงานใหม่ การบันทึกจะต้องไปที่ที่ต้องการจัดเก็บ และตั้งชื่อสมุดงาน รวมทั้งสามารถที่จะ เปลี่ยนชนิดของแฟ้มได้ด้วย ส่วนการบันทึกในสมุดงานเดิม จะเป็นการจัดเก็บอย่างรวดเร็วในที่เก็บ เดิม และชื่อเดิม

2.2.4 เมนูบันทึกเป็น
เป็นเมนูใช้ในการจัดเก็บงานต่าง ๆ ที่อยู่ในสมุดงาน ซึ่งมีเมนูย่อยให้เลือกต่ออีก ได้แก่ การบันทึกจะต้องไปที่ที่ต้องการจัดเก็บ และตั้งชื่อสมุดงาน รวมทั้งสามารถที่จะเปลี่ยนชนิด ของแฟ้มได

2.2.5 เมนูพิมพ์
เป็นเมนูใช้พิมพ์งานออกทางเครื่องพิมพ์ มีทั้งพิมพ์แล้วไปตั้งค่าตัวเลือกต่าง ๆ พิมพ์ด่วนอย่างรวดเร็ว และแสดงตัวอย่างก่อนพิมพ์

2.2.6 เมนูจัดเตรียม
เป็นเมนูใช้จัดเตรียมงานต่าง ๆ ได้แก่ คุณสมบัติ ตรวจสอบเอกสาร เข้ารหัสลับ เอกสาร จำกัดสิทธิ์ เพิ่มลายเซ็นดิจิทัล กำหนดให้เป็นขั้นสุดท้าย และเรียกใช้ตัวตรวจสอบความเข้า กันได้ เป็นต้น

2.2.7 เมนูส่ง
เป็นเมนูใช้ส่งเอกสารอีเมล์ และโทรสารอินเทอร์เน็ต

2.2.8 เมนูประกาศ
เป็นเมนูใช้ประกาศกระจายเอกสารไปยังบุคคลอื่น บันทึกสำหรับ Excel Services เซิร์ฟเวอร์การจัดการเอกสาร และสร้างพื้นที่การทำงานเอกสาร

2.2.9 เมนูปิด
เป็นเมนูใช้ปิดสมุดงานที่กำลังเปิดใช้งานอยู่

2.2.10 ตัวเลือกของ Excel
เป็นเมนูใช้กำหนดค่าตัวเลือกต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในโปรแกรม

2.2.10.1 เป็นที่นิยม ในกล่องโต้ตอบตัวเลือกของ Excel มีรายการกำหนดเอง สามารถสร้างรายการข้อความต่าง ๆ ที่เป็นลำดับเพิ่มเติมไว้ใช้งานเองได้ แบบชุดสี รูปแบบอักษร จำนวนแผ่นงาน ชื่อผู้ใช้ และการตั้งค่าภาษา
2.2.10.2 สูตร เป็นรายการในกล่องโต้ตอบตัวเลือกของ Excel ที่มีรายการ ตัวเลือกการคำนวณ การทำงานกับสูตร การตรวจสอบข้อผิดพลาด และกฎการตรวจสอบ ข้อผิดพลาด
2.2.10.3 การพิสูจน์อักษร เป็นรายการในกล่องโต้ตอบตัวเลือกของ Excel ที่มี รายการตัวเลือกการแก้ไขอัตโนมัติ การแก้ไขตัวสะกด และพจนานุกรม
2.2.10.4 บันทึก เป็นรายการในกล่องโต้ตอบตัวเลือกของ Excel ที่มีรายการ บันทึกสมุดงาน ตัวเลือกการแก้ไขแบบออฟไลน์ และรักษาลักษณะที่มองเห็นของสมุดงาน
2.2.10.5 ขั้นสูง เป็นรายการในกล่องโต้ตอบตัวเลือกของ Excel ที่มีรายการ ตัวเลือกการแก้ไข ตัด คัดลอก และวาง การพิมพ์ แสดง ตัวเลือกการแสดง สูตร ทั่วไป
2.2.10.6 กำหนดเอง เป็นรายการในกล่องโต้ตอบตัวเลือกของ Excel ที่มี รายการ กำหนดแถบเครื่องมือด่วนเอง
2.2.10.7 Add-in เป็นรายการในกล่องโต้ตอบตัวเลือกของ Excel ที่มีการแสดง และจัดการ Add-in
2.2.10.8 ศูนย์ความเชื่อถือ เป็นรายการในกล่องโต้ตอบตัวเลือกของ Excel ที่ ช่วยรักษาเอกสารให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
2.2.10.9 แหล่งข้อมูล เป็นรายการในกล่องโต้ตอบตัวเลือกของ Excel ที่มี รายการรับโปรแกรมปรับปรุง เรียกใช้การวินิจฉัย ติดต่อเรา ไปที่เว็บไซต์
2.2.11 ออกจาก Excel
เป็นปุ่มใช้ออกจากโปรแกรมหรือจบการทำงานของโปรแกรม ซึ่งจะปิดแฟ้ม สมุดงานต่าง ๆ ด้วย

2.3 แถบเครื่องมือด่วน (Tool bar)
เป็นส่วนที่แสดงคำสั่งที่ใช้บ่อย ๆ อยู่ด้านบนซ้ายของหน้าต่าง (อาจสั่งให้อยู่ใต้ Ribbon ก็ได้) ที่แสดงในรูปของปุ่มรูปภาพ หรือไอคอน โดยปกติจะมีปุ่มบันทึก เลิกทำ ทำซ้ำ ฯลฯ ซึ่ง สามารถเพิ่มปุ่มคำสั่งที่ให้มาในรายการของแถบเครื่องมือ แล้วคลิกถูกเลือกรายการที่ต้องการหรือ คลิกขวาที่ปุ่มที่ใช้งานในแท็บต่าง ๆ บน Ribbon แล้วเลือกเพิ่มลงในแถบเครื่องมือด่วน นอกจากนี้ ยังสมารถเพิ่มปุ่มเครื่องมือด่วน ได้โดยใช้คำสั่งเพิ่มเติม หรือใช้รายการกำหนดแถบเครื่องมือด่วน เองในกล่องโต้ตอบตัวเลือกของ Excel ที่ปุ่ม Office

2.4 แถบเครื่องมือ Ribbon
เป็นส่วนที่แสดงคำสั่งต่าง ๆ แบ่งออกเป็นแท็บ ๆ แท็บ ในแต่ละแท็บจะมีกลุ่มชื่อ/ ชุดคำสั่งอยู่ด้านล่าง และมีปุ่มคำสั่งไว้ใช้งานแทนเมนูแบบเก่า ๆ โดยบางแท็บจะมีปุ่มน้อย ๆ หรือ จุดมุมด้านล่างขวามือไว้สำหรับเรียกกล่องโต้ตอบออกมาใช้งานได้ละเอียดมากขึ้น นอกจากนี้หาก ไม่ใช้งานสามารถย่อ Ribbon ได้อีกด้วย

2.4.1 แท็บหน้าแรก
เป็นแท็บแรกที่ให้มาเมื่อเปิดโปรแกรม/งานเข้ามา ซึ่งจะเป็นคำสั่งมาตรฐาน ที่จำเป็นต้องใช้งานบ่อย ๆ มีกลุ่มคำสั่ง ได้แก่ คลิปบอร์ด แบบอักษร การจัดแนว ตัวเลข ลักษณะ เซลล์ และการแก้ไข เป็นต้น

2.4.2 แท็บแทรก
เป็นแท็บที่มีกลุ่มคำสั่งใช้งานในการแทรกงานต่าง ๆ ได้แก่ ตาราง ภาพประกอบ แผนภูมิ การเชื่อมโยง และข้อความ เป็นต้น

2.4.3 แท็บเค้าโครงหน้ากระดาษ
เป็นแท็บที่มีกลุ่มคำสั่งใช้งานในการจัดการหน้ากระดาษต่าง ๆ ได้แก่ ชุด รูปแบบ ตั้งค่าหน้ากระดาษ ปรับพอดี ตัวเลือกของแผ่นงาน และจัดเรียง เป็นต้น

2.4.4 แท็บสูตร
เป็นแท็บที่มีกลุ่มคำสั่งใช้งานในการจัดการเกี่ยวกับสูตรหรือฟังก์ชันต่าง ๆ ได้แก่ ไลบรารีฟังก์ชัน ชื่อที่กำหนด ตรวจสอบสูตร และการคำนวณ เป็นต้น

2.4.5 แท็บข้อมูล
เป็นแท็บที่มีกลุ่มคำสั่งใช้งานในการจัดการข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ รับข้อมูล ภายนอก การเชื่อมต่อ เรียงลำดับและกรอง เครื่องมือข้อมูล และเค้าร่าง เป็นต้น

2.4.6 แท็บตรวจทาน
เป็นแท็บที่มีกลุ่มคำสั่งใช้งานในการตรวจทานพิสูจน์อักษร สร้างข้อคิดเห็น และการเปลี่ยนแปลง

2.4.7 แท็บมุมมอง
เป็นแท็บที่มีกลุ่มคำสั่งใช้งานในการจัดการมุมมองของหน้ากระดาษ/แผ่นงาน/ สมุดงาน ได้แก่ มุมมองสมุดงาน แสดง/ซ่อน ย่อ/ขยาย หน้าต่าง และแมโคร เป็นต้น

2.5 แถบสูตร
เป็นแถบเครื่องมือที่มีพื้นที่ใช้งานอยู่ 3 ส่วน คือด้านซ้ายเป็นที่ใช้ในการแสดงตำแหน่ง เซลล์หรืออ้างอิงเซลล์ ทั้งนี้เมื่อพิมพ์เครื่องหมาย = หรือคลิก ปุ่มเครื่องหมาย fx ที่ตำแหน่งเซลล์ หรืออ้างอิงเซลล์นี้ จะเปลี่ยนเป็นชื่อสูตรหรือฟังก์ชันและการใช้สูตรที่ใช้ในเร็ว ๆ นี้ ถัดไปเป็นปุ่ม เครื่องหมายกากบาทใช้ยกเลิก ปุ่มเครื่องหมายถูกใช้ป้อนค่า และปุ่มเครื่องหมาย fx ใช้แทรกฟังก์ชัน ช่องพื้นที่ด้านขวาสุดเป็นที่ที่แสดงข้อความ ตัวเลข และสูตรที่อยู่เบื้องหลังตัวเลข

2.6 แถบสถานะ (Status bar)
เป็นแถบด้านล่างสุดของหน้าต่าง ซึ่งแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนซ้ายเป็นส่วนที่ แสดงการใช้งานขณะนั้น เช่น การคัดลอก และการพิมพ์งานออกทางเครื่องพิมพ์ เป็นต้น และส่วน ขวาแสดงมุมมอง

2.6.1 พื้นที่แสดงสถานะ
เป็นการแสดงถึงสถานการณ์การทำงานในปัจจุบันนั้น

2.6.2 พื้นที่แสดงมุมมองและย่อ/ขยาย
เป็นแถบมุมมองที่อยู่ทางด้านขวามือของแถบสถานะ ซึ่งใช้ในการสลับ มุมมอง และย่อ/ขยาย

2.7 แผ่นงานหรือชีท (Sheet)
เป็นพื้นที่ทำงานของสมุดงาน ในแต่ละสมุดงานจะมีกี่แผ่นงานก็ได้ โดยโปรแกรมได้ ให้มา 3 แผ่นงานก่อน ซึ่งสามารถเพิ่มได้โดยใช้เมนูลัดที่แผ่นงานเลือกแทรก...\แผ่นงาน หรือคลิก แผ่นงานท้าย (ปุ่มแทรกแผ่นงาน) หรือกดแป้น Shift + F11 ซึ่งในแผ่นงานหนึ่ง ๆ จะมีลักษณะเป็น ตาราง ประกอบไปด้วย

2.7.1 คอลัมน์ (Column)
เป็นช่องข้อมูลที่เรียงอยู่ในแนวตั้งด้านบน ตั้งแต่ A, B, C,…,Z แล้วต่อ ด้วยอักษร 2 และ 3 ตัว ซึ่งมีทั้งหมด 16,384 คอลัมน์

2.7.2 แถว (Row)
เป็นช่องข้อมูลที่เรียงอยู่ทางแนวนอนด้านซ้าย ใช้ตัวเลขแทนชื่อของแถว เริ่มตั้งแต่ 1 ไปจนถึง 1,048,576 แถว

2.7.3 เซลล์ (Cell)
เป็นช่องสำหรับใส่ข้อมูล มีชื่ออ้างอิงเซลล์แบบปกติที่นิยมใช้กัน คือ ชื่อ คอลัมน์ตามด้วยชื่อแถว เช่น A1 เป็นเซลล์ที่อยู่ในคอลัมน์ A และอยู่ในแถวที่ 1 เป็นต้น ภายในหนึ่ง เซลล์จะมีข้อมูลได้เพียงแค่ตัวเดียว โดยข้อมูลจะเป็นตัวเลข ข้อความ ตัวเลขปนข้อความ หรือสูตรก็ ได้ และตำแหน่งป้อนข้อมูลจะเป็นเซลล์ที่มีกรอบเข้มกว่าเซลล์อื่น ๆ และถ้าต้องการตั้งชื่อให้กับ เซลล์ ก็สามารถพิมพ์ชื่อเซลล์แทนตำแหน่งเซลล์ในแถบสูตรได้ทันทีเลย หรือใช้ปุ่มคำสั่งกำหนด ชื่อ กลุ่มคำสั่งชื่อที่กำหนดในแท็บสูตร

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรม microsoft word 2007

พื้นฐานการใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด
1 การเปิดโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด
ให้คลิกที่ปุ่ม Start\All Programs\Microsoft Office\Microsoft Word 2007 จะเปิด โปรแกรม Microsoft Word 2007 ในชื่อไฟล์ว่า Document1 เสมอ แต่ถ้าเปิดแฟ้มใหม่ต่อไปอีกก็จะ ใช้ชื่อเป็น Document2,………, Document10 ไปเรื่อย ๆ
2 ส่วนประกอบของโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด
เมื่อได้เปิดโปรแกรม Microsoft Word ขึ้นมาแล้ว จะปรากฏหน้าต่างของ โปรแกรม ซึ่งมีส่วนประกอบ ดังนี้
  1. แท็บเครื่องมือ ด่วน
  2. ชื่อแฟ้มและ โปรแกรม
  3. แท็บ
  4. Ribbon
  5. แบบอักษร
  6. ไม้บรรทัด
  7. ตัวเปิดไม้บรรทัด
  8. ตำแหน่งพิมพ์หรือ เครื่องหมายจบ
  9. แท็บเลื่อน
  10. มุมมอง/ย่อขยาย
  11. แท็บสถานะ
จากปุ่มเมนูด้านบน สามารถ อธิบายได้ดังนี้
6.2.1 แท็บชื่อแฟ้มและโปรแกรม (Title bar)
เป็นส่วนที่แสดงชื่อของโปรแกรม และชื่อไฟล์เอกสารที่เราเรียกใช้
6.2.2 แท็บ
เป็นส่วนที่แสดงคำสั่งเป็นรายการรายละเอียดที่ต้องเปิดเรียกใช้
6.2.3 แท็บเครื่องมือด่วน (Toolbar)
เป็นส่วนที่แสดงคำสั่งของเวิร์ดที่ใช้บ่อย ๆ โดยแสดงในรูปของปุ่ม รูปภาพ หรือไอคอน โดยปกติจะมีแท็บเครื่องมือมาตรฐาน จัดรูปแบบ และรูปวาด ขึ้นมาให้ก่อน
6.2.4 ไม้บรรทัด (Ruler)
เป็นส่วนที่แสดงมาตราส่วนเช่นเดียวกับไม้บรรทัดทั่วไป เพื่อบอกระยะ ของข้อความในเอกสาร มีทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ใช้ได้ทั้งเป็นนิ้วและเซนติเมตร
6.2.5 ตำแหน่งพิมพ์
เป็นเครื่องหมายที่บอกตำแหน่งการพิมพ์งาน (Cursor)
ตาราง การใช้แป้นพิมพ์ เพื่อเลื่อนหน้าเอกสารหรือตำแหน่งพิมพ์
แป้นพิมพ์
หน้าที่
กดแป้น Home
กดแป้น End
กดแป้น Ctrl + Home
กดแป้น Ctrl + End
กดแป้น Page Up
กดแป้น Page Down
กดแป้น Ctrl + Page Up
กดแป้น Ctrl + Page Down
Iให้ตำแหน่งพิมพ์วิ่งไปต้นบรรทัดเอกสารนั้น
Iให้ตำแหน่งพิมพ์วิ่งไปท้ายบรรทัดเอกสารนั้น
Iให้ตำแหน่งพิมพ์วิ่งไปต้นเอกสารนั้น
Iให้ตำแหน่งพิมพ์วิ่งไปท้ายเอกสารนั้น
Iเลื่อนไปดูเอกสารทีละหน้าจอทางด้านบน
Iเลื่อนไปดูเอกสารทีละหน้าจอทางด้านล่าง
Iเลื่อนไปดูเอกสารทีละหน้าเอกสารทางด้านบน
Iเลื่อนไปดูเอกสารทีละหน้าเอกสารทางด้านล่าง
6.2.6 แท็บสถานะ (Status bar)
เป็นส่วนที่แสดงการใช้งานเอกสารขณะนั้น ในบางภาวะการทำงาน ส่วนนี้จะแสดงคำอธิบายการทำงานให้ทราบด้วย
6.2.7 เลือกวิธีเรียกดู
เป็นเครื่องมือหรือปุ่มที่ใช้ในการเรียกดูเอกสารตามที่ต่าง ๆ ที่จะเลือก






6.2.8 มุมมองต่าง ๆ เราสามารถใช้แท็บมุมมอง และกลุ่มคำสั่งต่าง ๆ บน Ribbon หรือใช้แถบ สถานะทางมุมล่างขวามือ

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การติดตั้งโปรแกรม Avira AntiVir

การติดตั้งโปรแกรม Avira AntiVir

วิธีติดตั้ง Program Avira Antivirus

Avira AntiVir Personal - FREE Antivirus เป็นโปรแกรมฟรีแวร์สำหรับป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ให้ดาวโหลดมาใช้งานกันได้ฟรี โดยมีความสามารถในการป้องกันไวรัสได้ดีและเป็นที่นิยมใช้งานจากผู้ใช้งานจำนวนมากทั่วโลก มาดูขั้นตอนในการติดตั้งและใช้งานโปรแกรมกันสักเล็กน้อย

1 หลังจากดาวโหลดโปรแกรมมาแล้ว ให้เราทำการดับเบิลคลิกเพื่อเปิดไฟล์การติดตั้งขึ้นมา ตามภาพด้านล่างโดยให้เราคลิกที่ปุ่ม Run

2 จากนั้นให้เราคลิกที่คำสั่ง Accept เพื่อเริ่มเข้าสู่หน้าต่างการติดตั้งถัดไปตามภาพ

3 จะมีกรอบหน้าต่างแสดงการต้อนรับเข้าสู่การติดตั้งโปรแกรมให้เราคลิก Next next

4 จากนั้นให้เราคลิกปุ่ม next ต่อไป

5 ให้เราคลิกปุ่มยอมรับเงื่อนไขการใช้งาน และคลิกปุ่ม Next

6 จะแสดงข้อมูลเงื่อนไขการใช้งานอีกครั้ง ให้เรายอมรับ จากนั้นให้คลิก next

7 ตัวเลือกการติดตั้งมี 2 แบบ ให้เราเลือกแบบ Complete

8 การลงทะเบียนผลิตภัณฑ์ ให้เราคลิก Check box ออก ทั้งสองอัน (ไม่ต้องลง) จากนั้นคลิก Next

9 ภาพแสดงความคืบหน้าการติดตั้ง


10 การติดตั้งที่สมบูรณ์ให้เราคลิก Finish

11 จะมีแถบข้อความแจ้งว่าเราต้องการ update ฐานข้อมูลไวรัสขึ้นมาให้เราตอบตกลงโดยเลือก Yes

12 จากนั้นดปรแกรมก็จะทำการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของผู้ผลิตเพื่อทำการ update ข้อมูลไวรัสให้ทันสมัย เราต้องคอยประมาณ 5-10 นาทีโดยประมาณ

12 หลังการ update เมื่อเราเปิดโปรแกรมขึ้นมาจะมีข้อมูลแสดงให้เราทราบ เป็นข้อมูลวันเวลาที่โปรแกรมสามารถใช้งานได้ ,ข้อมูลแสดงการ update ซึ่งปกติถ้าเราทำถูกต้องจะมีติ้กถูกเป็นสีเขียว และในส่วนของการ scan system now แนะนำให้คลิก เพื่อให้โปรแกรม scan หาไวรัสในเครื่องของเรา (อาจจะใช้เวลานานพอสมควร ให้ทำตอนว่างๆ)

สแกนไวรัส

1. ให้ ดาวน์โหลดไฟล์โปรแกรมแอนตี้ไวรัสกันก่อน     Download

2. ดาวน์โหลดเสร็จแล้วแตกไฟล์ออกมาจะได้ดังรูป


3. ให้ติดตั้งตั้ง Nod32.Fix ก่อนโดยการดับเบิ้ลคลิกที่

4. กด Next


5. กด Next


6. กด Next


7. กด Next


8. กด Install


9.  ให้กด No.I will restart the computer later  เพราะเราต้องลงโปรแกรมอีกตัวก่อน


10. จากนั้นให้ดับเบิ้ลคลิกที่
11. ให้กด Extract


12. ให้เอาเครื่องหมายถูกตรงช่อง Use current settings ออกแล้วเลือก Typical ดังรูป


13. .ให้ใส่เครื่องหมายถูกที่ Set update parameters later  แล้วกด Next


14. กด Next


15. เลือก Enable แล้วกด Next


16.  กด Next


17. กด Next


18. เมื่อลงเสร็จแล้วให้กด finish ได้เลย เพราะถ้าไม่ restart โปรแกรมจะไม่ทำงาน


19. หลังจากที่ restart เสร็จให้เราดับเบิ้ลคลิกที่   จะอยู่มุมขวาล่าง
20. กดเข้าไปที่ Update แล้วเลือก Setup


21. จะขึ้นหน้าต่าง Setup ขึ้นมาให้ตั้งค่าตามรูป


22.  เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้วให้กด Update Now   กรณีกดแล้วไม่ยอมอัพ ให้กดไปเรื่อยๆ เพราะ Nod32 มีหลาย Server ได้อัพเดรต  และกรณีกดแล้วมันถาม Password ให้เราใส่ ให้เราเข้าไปโหลด CD-Key ที่ http://www.nod321.com/  และ http://www.nod325.com/ เพื่อเอา มาใส่
23. และสังเกตว่าแอนตี้ไวรัสเราอัพเดรตล่าสุดวันไหนให้ดูตรงกรอบที่ทำให้และตอนนี้เวอร์ชั่นอะไรที่ใช้อยู่  แค่นี้ก็จะได้แอนตี้ไวรัสที่อัพล่าสุดไว้ปราบไวรัสแล้ว


24. หลังจากอัพเดรตแอนตี้ไวรัสเสร็จจะเสริมให้แอนตี้ไวรัสทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ต้องตั้งค่า firewall แล้ว Virus Protect เพิ่มอีกนิด
ไปที่ Control Panel


25. ดับเบิ้ลคลิกที่ Security Center 
26. จากนั้นคลิกที่ Recommendations ตรงช่อง Virus Protection


27. ให้ใส่เครื่องหมาย I have an antivirus program ดังรูป  และสมควรเปิดไฟวอลด้วยจะดีมาก  แต่ถ้าเปิด Firewall   และ Internet ช้าไม่ควรเปิดเพราะจะทำให้เล่น Internet ช้าไปด้วยแต่จะปลอดภัยเรื่องไวรัส  แล้วแต่จะเลือกใช้



28.  ตัว Fix * ไว้ใช้กรณีที่เราติดสคริป Auto run เช่น ดับเบิ้ลคลิกที่ Drive D: ไม่ได้, Folder option หาย , ไม่สามารถเปิด task Manager , run  เข้าไม่ได้ , ไวรัส msn ตัวนี้จะช่วยแก้พวกนี้ได้ ซึ่งแอนตี้ไวรัสตัวอื่นไม่มีคุณสมบัติตัวนี้  ถ้าเราไม่รู้ว่าติดอันไหนมั่งให้ลง fix ที่มีในรายการทั้งหมดทุกตัว  เพราะจะได้ fix ไวรัสต่างๆ ไว้ทั้งหมด



29. วิธีการลงโดยการคลิกที่ตัว fix.exe (ให้ลงทุกตัวถ้าไม่รู้ว่าติดตัวไหน)จากนั้นกด I Agree ดังรูป


30.  แล้วให้เลือกเฉพาะ Scan and Clean with Nod32 ออก  (ในการติดตั้งตัว fix ให้เลือกแค่ Scan and Clean with Nod32  ตัวนี้ออก ตัวอื่นให้คงไว้เหมือนเดิม)  จากนั้นกด Do in now


31. กรณีที่มี Drive ให้เลือก ให้ลง ตัว Fixตัวนั้น แล้ว fix ทุก Drive (ถ้ามี 2 Drive ให้ลง fix ตัวนั้น 2 ครั้ง เลือก C: และ D:  ถ้ามี 5 ก็ให้ลง 5 ครั้ง)  แล้วกด Ok


32. เมื่อ fix เสร็จแล้วให้ Close ออกได้เลย  ส่วนวิธี Scan Virus ให้ไปอ่านต่อวิธี Scan ไวรัสเข้าไปอ่านอีกขัวข้อ

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์

อปกรณ์ต่อพ่วง


อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์

1. เครื่องพิมพ์ชนิดต่าง ๆ (Printer)
               เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อทำหน้าที่ในการแปลผลลัพธ์ที่ได้จาก การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร ์ให้อยู่ในรูปของอักขระหรือรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษ นับเป็นอุปกรณ์แสดลงผลที่นิยมใช้ เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
    1. เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer)
                  เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์เป็นเครื่องพิมพ์ที่นนิยมใช้งานกันแพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากราคา และคุณภาพการพิมพ์อยู่ในระดับที่เหมาะสม การทำงานของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ใช้หลักการสร้างจุด ลงบน กระดาษโดยตรง หัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ มีลักษณะเป็นหัวเข็ม (pin) เมื่อต้องการพิมพ์สิ่งใดลงบนกระดาษ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งที่ประกอบกันเป็น ข้อมูลดังกล่าวจะยื่นลำหน้าหัวเข็มอื่น เพื่อไปกระแทกผ่านผ้าหมึก ลงบนกระดาษ ก็จะทำให้เกิดจุดขึ้น การพิมพ์แบบนี้จะมีเสียงดัง พอสมควร ความคมชัดของข้อมูลบน กระดาษขึ้นอยู่กับจำนวนจุด ถ้าจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลที่พิมพ์ลงบนกระดาษก็ยิ่งคมชัดมากขึ้น ความเร็ว ของเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์อยู่ระหว่าง 200 ถึง 300 ตัวอักษรต่อวินาที หรือประมาณ 1 ถึง 3 หน้าต่อนาที เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เหมาะสำหรับงานที่พิมพ์แบบฟอร์มที่ต้องการซ้อนแผ่นก๊อปปี้ หลาย ๆ ชั้น เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ใช้กระดาษต่อเนื่องในการพิมพ์ ซึ่งกระดษาประเภทนี้จะมีรูข้างกระดาษทั้งสองเอาให้ หนามเตยของเครื่องพิมพ์เลื่อนกระดาษ
    2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer)
                  เครื่องพิมพ์พ่นหมึก เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพการพิมพ์ที่ดีกว่าเครื่องพิมพ์แบบดอตแมทริกซ์ โดยสามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบ และขนาดที่แตกต่งกันมาก ๆ รวมไปถึง พิมพ์งานกราฟิกที่ให้ผลลัพธ์ คมชัดว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เทคโนโลยีที่เครื่องพิมพ์พ่นหมึก ใช้ในการพิมพ์ก็คือ การพ่นหมึกหยดเล็ก ๆ ไปที่กระดาษ หยดหมึกจะมีขนาดเล็กมาก แต่ละจุดจะอยู่ในตำแหน่งที่เมื่อประกอบกันแล้ว เป็นตัวอักษร หรือรูปภาพ ตามความต้องการ เครื่องพิมพ์พ่นหมึกมีความเร็วในการพิมพ์ มากว่าแบบดอตแมทริกซ์ มีหน่วยวัดความเร็วเป็นในการ พิมพ์เป็น PPM (Page Per Minute) ซึ่งเร็วกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์มาก อย่างไรก็ตามถ้าเป็นการพิมพ์ กราฟิกหรือตัวอักษรที่มีรูปแบบในเวลาเดียวกัน เครื่องพิมพ์พ่นหมึกจะทำงานได้ช้าลง กระดาษที่ใช้กับเครื่อง พิมพ์พ่นหมึกจะเป็นขนาด 8.5 X 11 นิ้ว หรือ A4 ซึ่งสามารถพิมพ์ได้ ทั้งแนวตั้งที่เรียกว่า "พอร์ทเทรต" (Portrait) และแนวนอนที่เรียกว่า "แลนด์สเคป" (Landscape) โดยกระดาษจะถูกวางเรียงซ้อนกัน อยู่ในถาด และถูกป้อน เข้าไปในเครื่องพิมพ์ที่ละแผ่นเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร
    3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)
                  เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องที่มีคุณสมบัติเหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก แต่สามารถทำงาน ได้เร็วกว่า โดยเครื่องพิพม์เลเซอร์ สามารถพิมพ์ตัวอักษรได้ทุกรูปแบบและทุกขนาดรวมทั้งสามารถพิมพ์งาน กราฟิกที่คมชัดได้ด้วย เครื่องเลเซอร์ใช้เทคโนโลยี เดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบน กระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษรบนกระดาษ
                  หน่วยวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะเป็น PPM เช่นเดียวกับ เครื่องพิมพ์พ่นหมึกในปัจจุบัน ความสามารถ ในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์คุณภาพสูง สามารถพิมพ์ได้หลายร้อยหน้าต่อนาที ซึ่งเหมาะ กับงานในองค์กรขนาดใหญ่ จะนำไปใช้งานในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ส่วนคุณภาพงานพิมพ์ของเครื่องจะวัด ด้วยความละเอียดในการสร้างจุดลงในกระดาษ ขนาด 1 ตารางนิ้ว เช่นความละเอียดที่  300 dpi หรือ 600 dpi หรือ 1200 dpi เครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ก็จะมีทั้งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบ ขวา-ดำ และเครื่องพิมพ์ เลเซอร์แบบสี ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบสีจะมีราคาแพงมาก แต่งานพิมพ์ที่ได้ออกมาก็มีคุณภาพสูง


4. พล็อตเตอร์ (plotter)
                  พล็อตเตอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนกระดาษเหมาะสำหรับงาน เกี่ยวกับการเขียนแบบทางวิศวกรรม (เขียนลงบนกระดาษไข) และงานตกแต่งภายใน สำหรับวิศวกรรมและสถาปนิก
                  พล็อตเตอร์ทำงานโดยใช้วิธีเลื่อนกระดาษ โดยสามารถใช้ปากกาได้ 6-8 สี ความเร็วในการทำงานของ พล็อตเตอร์มีหน่วยวัดเป็นนิ้วต่อวินาที (Inches Per Secon : IPS) ซึ่งหมายถึงจำนวนนิ้วที่พล็อตเตอร์สามารถ เลื่อนปากกาไปบนกระดาษ
2. เครื่องสแกนภาพ (Scanner)
                  สแกนเนอร์ (Scanner) คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของ อนาล็อกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถแสดง เรียบเรียง เก็บรักษาและผลิต ออกมาได้ ภาพนั่นอาจจะเป็น รูปถ่าย ข้อความ    ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆ  ได้ดังนี้
    • ในงานเกี่ยวกับงานศิลปะหรือภาพถ่ายในเอกสาร
    • บันทึกข้อมูลลงในเวิร์ดโปรเซสเซอร์  
    • แฟ็กเอกสาร ภายใต้ดาต้าเบส และ เวิร์ดโปรเซสเซอร์  
    • เพิ่มเติมภาพและจินตนาการต่าง ๆ ลงในในผลิตภัณฑ์สื่อโฆษณาต่าง ๆ โดยพื้นฐานการทำงานของสแกนเนอร์
       ชนิดของสแกนเนอร์ และความ สามารถในการทำงาน ของสแกนเนอร์แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้     
                1. Flatbed scanners ซึ่งใช้สแกนภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์ต่าง ๆ สแกนเนอร์ชนิดนี้มีพื้นผิวแก้วบนโลหะที่เป็นตัวสแกน เช่น ScanMader III
                 2. Transparency and slide scanners ScanMaker ซึ่งถูกใช้ สแกนโลหะโปร่ง เช่นฟิล์มและสไลด์ ตัวอย่างของสแกนเนอร์ชนิดนี้ เช่น ScanMaker 35t ที่ใช้สแกนเนอร์ 35 mm และ ScanMake 45t ใช้สแกนเนอร์ ฟิล์มขนาด 8"x10"การทำงานของสแกนเนอร์ การจับภาพ ของสแกนเนอร์ ทำโดย ฉายแสงบนเอกสารที่จะสแกน แสงจะผ่านกลับไปมาและภาพจะถูกจับโดยเซลล์ ที่ไว ต่อแสง เรียกว่า Charge-couple device หรือ CCD ซึ่งโดยปกติพื้นที่มืดบน กระดาษจะสะท้อนแสง ได้น้อยและพื้นที่ที่สว่างบนกระดาษจะสะท้อนแสง ได้มาก กว่า CCD จะสืบหาปริมาณแสงที่สะท้อนกลับจากแต่ละพื้นที่ของภาพนั้น และ เปลี่ยนคลื่นของแสง ที่สะท้อนกลับมาเป็นข้อมูลดิจิตอลหลังจากนั้นซอฟต์แวร์ ที่ใช้สำหรับการสแกนภาพก็จะแปลงสัญญาณเหล่านั่นกลับมาเป็นภาพบนคอมพิวเตอร์อีกทีหนึ่ง  
      สิ่งที่จำเป็นสำหรับการสแกนภาพ  มีดังนี้
    • SCSI และสาย SCSI หรือ Parallel Port สำหรับต่อจากสแกนเนอร์ ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์  
    • ซอฟต์แวร์สำหรับการสแกนภาพซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของสแกนเนอร์ให้สแกนภาพตามที่กำหนด  
    • สแกนเอกสารเก็บไว้เป็นไฟล์ที่นำมาแก้ไขได้อาจต้องมีซอฟแวร์ที่สนับ สนุนด้าน OCR
    • จอภาพที่เหมาะสมสำหรับการแสดงภาพที่สแกนมาจากสแกนเนอร์  
    • เครื่องมือสำหรับแสดงพิมพ์ภาพที่สแกน เช่น เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ หรือสไลด์โปรเจคเตอร์
       ประเภทของภาพที่เกิดจากการสแกน แบ่งเป็นประเภทดังนี้
                 -  ภาพ Single Bit   เป็นภาพที่มีความพยาบมากที่สุดใช้พื้นทีในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด และนำมาใช้ประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้ แต่ข้อดีของภาพประเภทนี้คือ ใช้ทรัพยากร จองเครื่องน้อยที่สุดใช้พื้นที ในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด ใช้ระยะเวลาในการสแกน ภาพน้อยที่สุด Single Bit แบ่งออกได้สองประเภทคือ - Line Art ได้แก่ภาพที่มีประกอบเป็นภาพขาวดำตัวอย่างของภาพ พวกนี้ได้แก่ ภาพจากการสเก็ต  Halfone ภาพพวกนี้จะให้เป็นสีโทนสีเทามากกว่า แต่โดยทั่วไปยังถูกจัดว่าเป็นภาพประเภท Single Bit เนื่องจากเป็นภาพหยาบ ๆ
                 -  ภาพ Gray Scale ภาพพวกนี้จะมีส่วนประกอบมากกว่าภาพขาวดำ โดยจะประกอบด้วยเฉด สีเทาเป็นลำดับขั้น ทำให้เห็นรายละเอียดด้านแสง-เงา ความชัดลึก มากขึ้นกว่าเดิม ภาพพวกนี้แต่ละพิกเซลหรือแต่ละจุดของภาพอาจประกอบ ด้วยจำนวนบิตมากกว่า ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น
                -   ภาพสี หนึ่งพิกเซลของภาพสีนั้นประกอบด้วย จำนวนบิตมหาศาล และใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมากความ สามารถ ในการสแกนภาพออกมาได้ละเอียดขนาด ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับสแกนเนอร์มีขนาดความละเอียด เท่าไร



. โมเด็ม (Modem)
               เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภาย นอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบ คอมพิวเตอร์ของเราสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถ ทำงานของเราสามารสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงาน ของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วย การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคุ่สายของ โทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็ม จะทำการแปลงสัญญาณ ดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณ อนาล๊อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์
               คำว่า โมเด็ม (Modem) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน  หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล๊อกแล้วจึง สัญญาณกลับไปเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของเราต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่น
               ความสามารถของโมเด็ม    เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่าง ๆ ได้หลายอย่าง เช่น
    • ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน เช่นสั่งซื้อของผ่านอินเตอร์เน็ต  
    • ท่องไปบนอินเตอร์เน็ต  
    • เข้าถึงบริการออนไลน์ได้  
    • ดาวน์โหลดข้อมูล , รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้  
    • ส่ง - รับโทรสาร  
    • ตอบรับโทรศัพท์
                 ความแตกต่างของโมเด็ม                 1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ  ความเร็วในการรับ-ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็ม สามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็ม อื่นๆ มีหน่วยเป็นบิต /วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/ วินาที (kbps)    ในการบอกถึง ความเร็วขอโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการ พูดและจดจำ
                 2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล   ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้น สามารทำให้มีขนาดกะทัดรัด ด้วย วิธีการบีบอัดข้อมูล (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวน มากๆ
                 3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร โมเด็มรุ่นใหม่ ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร(Fax  capabilities) ได้ดีเช่น เดียวกับ การรับ ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟแวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้ แฟคซ์ โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์ (printer) ได้เมื่อเราพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสาร ของเราไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้
                4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่าง ๆ มากมาย หลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่า จะไม่ข้อมูลใด ๆสูญหายไประหว่างการส่ง ถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
                5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่ว ๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติด ตั้งภายนอก (external modems) และแบบติดตั้งภายใน (internal modems)
                6.ใช้เป็นโทรศัพท์ได้ โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถ ในการรับ/ ส่ง
ข้อมูลและโทรสารด้วย